นอกจากความเชื่อส่วนบุคคลที่แตกต่างกันออกไป ความแตกต่างในปูมหลังที่เติบโตมาของแต่ละเจน แต่ละวัย ก็มีผลมากเช่นกัน
.
เพราะเติบโตโดยได้รับผลกระทบจากสงคราม ครอบครัวมักเป็นครอบครัวใหญ่ ลูกเยอะ (เพื่อทดแทนประชากรที่หายไป) พ่อแม่เองก็ไม่สามารถเลี้ยงดูได้อย่างทั่วถึงเพราะต้องทำงานหนักเนื่องจากเศรษฐกิจกำลังฟื้นฟู พวกเขาต้องรับผิดชอบกับสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองตั้งแต่เด็ก ถูกปลูกฝังให้ต้องเคารพระบบอาวุโส เชื่อฟังและทำตามคำสั่งเพราะสะดวกต่อการดูแลของพ่อแม่ยิ่งยุคนั้นระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานยังไม่พัฒนา คนเจนนี้ยิ่งต้องสู้ชีวิต! ความอดทนและความสามารถในการรอคอยจึงไม่แพ้ใครและเชื่อว่าการพัฒนาต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน
.
บวกรวมกับสภาพการเมืองที่เป็นรอยต่อ ประชาธิปไตยไม่เต็มใบ มุมมองทางการเมืองจึงเป็นไปแบบไม่ได้เรียกร้องอะไรมาก ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของตัวเองมากกว่าจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคม
.
ซึ่งอ่านเผินๆ ก็รู้ว่าแตกต่างจากคนรุ่นอื่นๆ แบบสุดขั้ว
.
เพราะเกิดบนรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจึงปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าคนรุ่นก่อนและเริ่มมีลูกน้อยลง ถึงจะยังได้รับการเลี้ยงดูจากคนรุ่นก่อนจึงมีแนวคิดบางอย่างหลงเหลืออยู่ เช่น ธรรมเนียมปฏิบัติ, ความอดทน, และคุณค่าของเงิน แต่จะลดแนวคิดว่าทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเองลง เริ่มมองเห็นความเหลื่อมล้ำในสังคมและตั้งคำถามกับโครงสร้างทางสังคมบ้างกลุ่มนี้เกิดในช่วง พ.ศ. 2523 – 2540 เรียกได้หลายชื่อ ทั้ง Gen-Y, Millennials, Net Generation หรือ Digital Generation
.
ในทางการเลี้ยงดูพวกเขาได้รับการอุ้มชูมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ เพราะเริ่มมีแนวคิด “เด็กเป็นศูนย์กลาง” ขึ้นมา จึงเติบโตมาอย่างมั่นใจ เป็นตัวของตัวเอง ทำงานเป็นทีมได้ดี มีทักษะหลากหลาย รักความก้าวหน้าแต่ก็เชื่อในแนวคิด Work Life Balance มากกว่าการทำงานหนัก และเลือกที่จะเปลี่ยนงานมากกว่าจะอดทนถึงที่สุดเพราะเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต จึงใส่ใจกับข่าวสารและสื่อจากรอบโลกมาก ในขณะเดียวกันก็ผ่านสภาพสังคมและการเมืองก็เจอมาหนักไม่แพ้คน 2 เจนก่อนหน้า ทั้งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่างๆ และวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 ยิ่งถูกเลี้ยงดูมาให้มั่นใจและกล้าแสดงออก จึงแสดงออกทางการเมืองชัดเจนกว่าทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ทั้งยังตั้งคำถามกับระบบแบบเจาะจง ไม่ได้มองว่าประชาชนต้องอดทนทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเดียวอีกต่อไปกลุ่มสุดท้าย วัยรุ่นวัยเรียนทั้งหลายที่เกิด พ.ศ. 2541 – 2552 ได้รับความรักจากครอบครัวอย่างเต็มเปี่ยม ได้รับการศึกษาที่ดี จึงมีความเชื่อมั่นและความสนใจหลากหลายเหมือนคนเจน Y ใช้สื่อออนไลน์มากกว่าการสื่อสารแบบตัวต่อตัว อยู่ในสภาวะที่ตอบโต้ทางความคิดง่ายกว่าคนรุ่นอื่นจึงกล้าที่จะแสดงความเห็น และเพราะเติบโตมาแบบไม่ผ่านสงครามระหว่างประเทศ จึงไม่ถูกปลูกฝังเรื่องชาตินิยมหรือความเป็นปึกแผ่น การแบ่งแยกชนชั้น สีผิว ศาสนา หรือประเพณี จึงน้อยลงกว่าคนรุ่นก่อนๆ มากเช่นกัน
เมื่อมองเห็นโลกในมุมที่กว้าง เห็นวัฒนธรรมที่แตกต่าง เห็นสภาพสังคมและความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่แตกต่างก็ยิ่งจะเห็นข้อเปรียบเทียบได้ง่ายกว่าคนเจนอื่น กระทั่งความเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญก็เกิดขึ้นในระดับโลก บวกรวมกับการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้กล้าคิดกล้าพูด (เพราะคนที่เลี้ยงดูคือ Gen X และ Gen Y) หากเจอสิ่งที่ขัดหูขัดตาพวกเขาจะไม่รอที่จะแสดงความเห็น ไม่ใช่แค่เฉพาะการเมือง ซึ่งอาจไม่ใช่วิสัยของคนรุ่นอื่นส่วนใหญ่
ต่อให้เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าลอง Gen เก๋าๆ กับ Gen ใหม่ๆ มายืนอยู่คนละฟากกัน แล้วต้องตัดสินใจร่วมกันใครก็รู้ว่าไม่มีทางลงรอยง่ายๆ ยิ่งเป็นเรื่องศาสนาหรือการเมืองที่ยึดโยงกับความชื่นชอบและประสบการณ์ส่วนตัวก็ยิ่งยาก ต่อให้หาเหตุผลมาถกกันก็อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอไป
ไม่มีใครรู้ว่าความขัดแย้งนี้จะจบลงแบบไหนและเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เราต่างรู้อย่างแน่นอน คือคนในครอบครัวต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เกี่ยวพันกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าความเชื่อใดก็ไม่ควรมีค่ากว่าความสัมพันธ์ในครอบครัว ยังไงขายหัวเราะก็อยากให้ทุกครอบครัวแสดงออกต่อกันด้วยความเคารพทั้งสองฝ่าย แสดงจุดยืนตามกาลเทศะ และอย่าลืมคิดถึงหัวใจของอีกฝ่ายไว้เสมอ
แต่ถ้าอยากกระชับความสัมพันธ์ระหว่างวัย วางใจปฏิทินขายหัวเราะได้เลย ซื้อฝากใครใครก็รัก ดวงดีอารมณ์ดีกันทั้งปีทั้งครอบครัวจ้า
.
สั่งจองได้ที่ https://bit.ly/3f3hvvH นะ
.
คริ